Featured Posts Coolbthemes

Category 3

    ?max-results="+numposts3+"&orderby=published&alt=json-in-script&callback=recentarticles7\"><\/script>");

Category 4

?max-results="+numposts2+"&orderby=published&alt=json-in-script&callback=recentarticles6\"><\/script>");

Blogroll

กดไลค์ = 1 กำลังใจ คลิกที่ว่างหรือกดกากบาทข้างล่างเพื่อเข้าอ่านข้อมูล หากคลิกแล้วเด้งไม่ต้องตกใจ ที่เด้งเพราะโฆษณาไม่ใช่ไวรัสค่ะ

Powered By | Blog Gadgets

กระจ่าง! แพทย์ชี้ต้นเหตุตัดเท้าซ้าย "ปอ ทฤษฎี" เพราะใช้ยาตัวนี้นี่เอง?



(23 พ.ย.) รศ.นพ.บุญส่ง พัจนสุนทร อดีตนายกสมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีแพทย์ต้องตัดเท้าซ้ายของนายทฤษฎี สหวงษ์ หรือ ปอ ทฤษฎี ว่า ปัจจัยที่ทำให้คนต้องตัดขาหรือไม่นั้น สามารถเกิดขึ้นได้ในห้องผู้ป่วยวิกฤตทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการได้รับยากระตุ้นความดัน ซึ่งต้องการทำให้เลือดและหัวใจสูบฉีดและหมุนเวียนได้ดี ถ้าให้ในระดับสูงจะส่งผลให้หลอดเลือดหดตัว แต่ทั้งนี้การให้ยากระตุ้นความดันในกรณีนี้เข้าใจว่า เพื่อต้องการให้เลือดไปเลี้ยงสมอง หัวใจ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำให้มีอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า ขาดเลือดไปหมุนเวียนจนทำให้เนื้อเยื่อบางส่วนตาย และส่งผลให้ติดเชื้อได้ง่าย บางครั้งเนื้อเยื่อบางอย่างถึงขั้นหลุดลอกออกไปได้ เช่น ตั้งแต่บริเวณข้อเท้า ทั้งนี้การติดเชื้อส่วนใหญ่ถือว่ามีความรุนแรง การที่แพทย์ตัดสินใจตัดอวัยวะก็เพื่อรักษาชีวิตไว้ ไม่ให้เกิดอันตรายมากไปกว่านี้
 
“ในห้อง CCU ส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยช็อกและติดเชื้อเช่นนี้ประจำ ดังนั้นการตัดไม่ใช่เรื่องแปลก ส่วนการรักษาเท้าอีกข้างนั้น จะต้องดูว่ามีการอักเสบและติดเชื้อรุนแรงหรือไม่ ถ้าไม่รุนแรงก็เฝ้าระวังไปก่อน ส่วนโอกาสรอดชีวิต หากสามารถแก้ปัญหาตับและไตวายคงที่และไม่มีแผลลุกลามติดเชื้อ ผู้ป่วยก็สามารถกลับมามีชีวิตได้” รศ.นพ.บุญส่ง กล่าว

ด้าน นพ.นรเทพ อัศวพัชระ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ระนอง กล่าวถึงการใช้เครื่องพยุงการทำงานของปอดและหัวใจ (ECMO: Extra Corporeal Membrane Oxygenation) ว่า เครื่อง ECMO เป็นเครื่องที่ช่วยการทำงานของหัวใจ โดยจะช่วยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย และช่วยการทำงานของปอดในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน โดยผู้ป่วยที่จะใช้เครื่องนี้มี 4 ลักษณะคือ 1.ผู้ป่วยที่หัวใจล้มเหลว และใช้ยารักษาไม่ได้ผล 2.ผู้ป่วยที่ปอดล้มเหลว ใช้เครื่องช่วยหายใจตามปกติไม่ได้ผล 3.ผู้ป่วยที่ระบบการทำงานของหัวใจและปอดยังตอบสนองไม่ดี จึงใช้เครื่อง ECMO มาช่วยพยุงเวลา ประคับประคองให้หัวใจและปอดฟื้นตัวกลับมา เช่นกรณีของนายทฤษฎี และ 4.ผู้ป่วยที่เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ โดยปกติระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้เครื่องนี้อยู่ที่ประมาณ 2-10 วัน แต่ก็มีรายงานพบการใช้งานนานถึง 30 วัน

Share this:

 
Copyright © Liceza. Designed by OddThemes